วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558


การประเมินผลการเรียนรู้

ทิวัตถ์  มณีโชติ (http://ird.rmuti.ac.th/newweb/fmanager/files/1Tiwat.docได้กล่าวไว้ดังนี้     

การประเมิน เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัด คือ นำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผล โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น โรงเรียนกำหนดคะแนนที่น่าพอใจของวิชาคณิตศาสตร์ไว้ที่ร้อยละ 60 นักเรียนที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ 60 % ขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจ  หรืออาจจะกำหนดเกณฑ์ไว้หลายระดับ  เช่น ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 40  อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง  ร้อยละ 40-59 อยู่ในเกณฑ์พอใช้  ร้อยละ 60-79 อยู่ในเกณฑ์ดี และร้อยละ 80 ขึ้นไป  อยู่ในเกณฑ์ดีมาก เป็นต้น  ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็นการประเมิน          

            การประเมินผล  มีความหมายเช่นเดียวกับการประเมิน  แต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดผล

 

เอกศักดิ์ บุตรลับ (2537 : 389 – 395) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า

การประเมินผลเป็นขบวนการพิจารณาตัดสินใจในข้อมูลที่ได้จากการวัดผลว่า สิ่งนั้นหรือบุคคลนั้นดีหรือเลว เก่งหรืออ่อน สอบได้หรือสอบตก เป็นต้น

 

ยุพิน พิพิธกุล (ม.ป.ป.:  118-120) ได้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่า

ในการประเมินผลนั้น ย่อมมีวิธีการต่างๆ กันไปแล้วแต่โรงเรียนจะกำหนด ถึงในปัจจุบันมีคะแนนงานระหว่างปี ครูอาจจะประเมินผลด้วยการออกข้อทดสอบ การตรวจแบบฝึกหัด การให้งานมอบหมาย ฯลฯ ซึ่งเป็นเทคนิคของครุแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตามทุกโรงเรียนจะต้องมีการสอบ ดังนั้นก่อนที่จะสอบครูจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เสียก่อนว่า ครูจะประเมินผลอย่างไร และเมื่อไร โรงเรียนย่อมจัดการสอนตามความเหมาะสม ซึ่งส่วนมากก็จะมีการสอบปลายภาค และสอบปลายปีการศึกษา เพื่อให้เข้าใจถึงการประเมินเมื่อไรและอย่างไร ขอแบ่งการประเมินผลออกเป็น 2 ประการ ดังนี้

1. การประเมินผลย่อย (Formative evaluation)

2. การประเมินผลรวม (Summative evaluation)

 

สรุป

การประเมินหรือการประเมินผล  เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัด คือ นำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผล โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้   เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดผล  เป็นขบวนการพิจารณาตัดสินใจในข้อมูลที่ได้จากการวัดผลว่า สิ่งนั้นหรือบุคคลนั้นดีหรือเลว เก่งหรืออ่อน สอบได้หรือสอบตก เป็นต้น

ในการประเมินผลนั้น ย่อมมีวิธีการต่างๆ กันไปแล้วแต่โรงเรียนจะกำหนด ถึงในปัจจุบันมีคะแนนงานระหว่างปี ครูอาจจะประเมินผลด้วยการออกข้อทดสอบ การตรวจแบบฝึกหัด การให้งานมอบหมาย ฯลฯ ซึ่งเป็นเทคนิคของครุแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตามทุกโรงเรียนจะต้องมีการสอบ ดังนั้นก่อนที่จะสอบครูจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เสียก่อนว่า ครูจะประเมินผลอย่างไร และเมื่อไร โรงเรียนย่อมจัดการสอนตามความเหมาะสม ซึ่งส่วนมากก็จะมีการสอบปลายภาค และสอบปลายปีการศึกษา เพื่อให้เข้าใจถึงการประเมินเมื่อไรและอย่างไร ขอแบ่งการประเมินผลออกเป็น 2 ประการ ดังนี้

1. การประเมินผลย่อย (Formative evaluation)

2. การประเมินผลรวม (Summative evaluation)

 
ที่มา

ทิวัตถ์  มณีโชติ.[online] ird.rmuti.ac.th/newweb/fmanager/files/1Tiwat.doc.
               การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เข้าถึงเมื่อ 16 กรกฎาคม 2558.

เอกศักดิ์  บุตรลับ. (2537). ครูและการสอน.  (พิมพ์ครั้งที่ 2).  เพชรบุรี : สถาบันราชภัฎเพชรบุรี.

ยุพิน พิพิธกุล.  (ม.ป.ป.). การสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: กรุงเทพการพิมพ์.

 

 

 


การเรียนรู้แบบเรียนรวม
เบญจา    ชลธาร์นนท์ ได้กล่าวไว้ว่า
การเรียนรู้แบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้
เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด


ผดุง    อารยะวิญญู ได้กล่าวไว้ว่า
การเรียนร่วมหมายถึงการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีการร่วมกิจกรรมและใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการกับเด็กทั่วไป
      การจัดการเรียนร่วม     เป็นการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ มีโอกาสเข้าไปในระบบการศึกษาปกติ    โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ   ได้เรียนและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กทั่วไป    โดยมีครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือและ   รับผิดชอบร่วมกัน     (Collaboration)  และการจัดการเรียนร่วม     อาจกระทำได้หลายลักษณะ   วิธีการจัดการเรียนร่วม    ซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในหลายประเทศและประสบความสำเร็จ      ซึ่งมีรูปแบบการจัดเรียนร่วมได้ รูปแบบ      ดังนี้              
1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน  รูปแบบการจัดเรียนร่วม  
2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา
3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครู
4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม
5. ชั้นพิเศษและชั้นเรียนเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ
6. ชั้นเรียนพิเศษใน โรงเรียนปกติ


พรรณิดา  ผุสดี  http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10 ได้รวบรวมไว้ว่า
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล แต่การศึกษาแบบเรียนร่วม เป็นการศึกษาที่ให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนหรือกิกรรมร่วมกับเด็กปกติช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน


สรุป
การเรียนรู้แบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล แต่การศึกษาแบบเรียนร่วม เป็นการศึกษาที่ให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนหรือกิกรรมร่วมกับเด็กปกติช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้
เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
ซึ่งมีรูปแบบการจัดเรียนร่วมได้ รูปแบบ      ดังนี้              
1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน  รูปแบบการจัดเรียนร่วม  
2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา
3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครู
4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม
5. ชั้นพิเศษและชั้นเรียนเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ
6. ชั้นเรียนพิเศษใน โรงเรียนปกติ

ที่มา
เบญจา    ชลธาร์นนท์ .( 2545). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกแบบเรียนร่วม. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาการฝึก ครูสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ  
ผดุง    อารยะวิญญู .( 2542). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แว่นแก้ว .
พรรณิดา  ผุสดี. [online].  (http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10) การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม. เข้าถึงเมื่อ 3กันยายน 58

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ศศิธร  เวียงวะลัย ( 2556, 3) ได้กล่าวไว้ว่า
      การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึงการวัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ต้องเน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเอง หรือรวมทั้งมีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและประยุกต์ใช้ มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน และสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ นอกจากนี้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพโดยสะท้อนจากที่ผู้เรียนสามารถเลือกรายวิชาหรือเลือกทำโครงงานหรือชิ้นงานในหัวข้อที่สนใจในขอบเขตของวิขานั้นๆ

กระทรวงศึกษาธิการ ( 2543, 20) ได้กล่าวไว้ว่า
      ารจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ  ผู้สอนจึงต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวก ในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน กล่าวคือเป็นผู้กระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุน จัดสิ่งเร้าและจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพ เต็มความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล การจัดกิจกรรมจึงต้องเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ แยกแยะประเด็นเรื่องที่สำคัญ คิดวิพากษ์ วิจารณ์ คิดสร้างสรรค์ และค้นคว้า

ประเวศ วะสี (2549, 42) ได้กล่าวไว้ว่า
       ารจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเอาคนและสถานการณ์จริงเป็นตัวตั้ง เรียนจากประสบการณ์และกิจกรรม จากการฝึกหัด จากการตั้งคำถาม และจากการแสวงหาคำตอบซึ่งจะทำให้สนุก ฝึกปัญญาให้กล้าแข็ง ทำงานเป็น ฝึกคุณลักษณะอื่นๆ เช่น ความอดทน ความรับผิดชอบ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  การรวมกลุ่ม การจัดการและการรู้จักตนเอง
        
สรุป
      ารจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นตัวผู้เรียนเป็นหลัก  เรียนตามความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยครูมีหน้าที่จัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวก กระตุ้น และจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา ให้เต็มตามศักยภาพ เต็มความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ แยกแยะ  คิดวิพากษ์ วิจารณ์ คิดสร้างสรรค์ และค้นคว้า นำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต


ที่มา
ศศิธร  เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). คู่มือพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานการศึกษา การสอนที่เน้นผู้                 เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ประเวศ วะสี. (2549). ทฤษฎีกระบวนการทางปัญญา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558


องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้

http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html   ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
1. ผู้สอน เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น
ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว ควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
2. ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
3. เนื้อหาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดี และจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย


เอกศักดิ์  บุตรลับ (2537, 210) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้                                          องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
1. ปัจจัยนำเข้าหรือตัวป้อน ได้แก่ ครู นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนอื่นๆ หลักสูตร และสิ่งแวดล้อมทางการเรียน
2. กระบวนการดำเนินงาน เป็นการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งจะประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ หลายชนิด เช่น การเตรียมความพร้อม การดำเนินการสอน การสร้างเสริมทักษะและกิจกรรมสนับสนุน
3. การควบคุม คือการควบคุมกระบวนการเรียนการสอนนี้ หมายถึงวิธีการที่จะทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผลผลิต ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
5. ข้อมูลย้อนกลับ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลหลังจากการสอนได้ผ่านไปแล้ว


อาภรณ์  ใจเที่ยง (2540, 6-7) กล่าวว่า
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้สามารถแบ่งได้ 2 ด้าน คือ
1. ด้านองค์ประกอบรวม หมายถึง องค์ประกอบด้านโครงสร้างที่มาประกอบกันเป็นการสอน
    1.1 ครู หรือผู้สอน หรือวิทยากร
    1.2 นักเรียน หรือผู้เรียน
    1.3 หลักสูตร หรือสิ่งที่จะสอน
2. ด้านองค์ประกอบย่อย หมายถึง องค์ประกอบด้านรายละเอียดของการสอน ซึ่งจะต้องประกอบด้วย
    2.1 การตั้งจุดประสงค์การสอน
    2.2 การกำหนดเนื้อหา
    2.3 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
    2.4 การใช้สื่อการสอน
    2.5 การวัดผลและประเมินผล

สรุป 
1. ปัจจัยนำเข้าหรือตัวป้อน ได้แก่ ครู นักเรียน หลักสูตร และสิ่งแวดล้อมทางการเรียน
2. กระบวนการดำเนินงาน เป็นการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งจะประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ หลายชนิด เช่น การเตรียมความพร้อม การดำเนินการสอน การสร้างเสริมทักษะและกิจกรรมสนับสนุน
3. การควบคุม คือการควบคุมกระบวนการเรียนการสอนนี้ หมายถึงวิธีการที่จะทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผลผลิต ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
5. ข้อมูลย้อนกลับ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลหลังจากการสอนได้ผ่านไปแล้ว
      


ที่มา
http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html 
           องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 9 ก.ค. 58.
เอกศักดิ์  บุตรลับ. (2537). ครูและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). ปทุมธานี : วิทยาลัยครูเพชรบุรี.
อาภรณ์  ใจเที่ยง. (2540). หลักการสอน. กรุงเทพฯ : โอเดียร์สโตร์.

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558


วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)
http://innovation.kpru.ac.th/web17/551121732/innovation/index.php/self-study-method ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
          วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเองเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิชาด้วยตนเอง ได้แก่การศึกษาจากหนังสือและการศึกษานอกสถานที่ การสอนวิธีนี้บางครั้งเรียกว่าวิธี Problem Solving หรือ Discovery Method
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. จัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆหรืออาจเป็นผู้เรียนคนเดียวศึกษาค้นคว้าตามลำพัง
                2. ครูกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายและให้คำแนะนำให้มีการร่วมมือกันในการวางแผนที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่างๆดูแลและให้ความช่วยเหลือในการศึกษาของนักเรียนแต่ละคน จัดหาและเสนอแนะแหล่งความรู้ได้แก่ วัสดุ หนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่นักเรียนต้องใช้รวมทั้งอาจแนะนำให้หาความรู้ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลภายนอกโรงเรียน
                3. หลังการแสดงความคิดเห็นและปฏิบัติกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้วนักเรียนเขียนรายงานผลการวินิจฉัยปัญหา
ข้อดีของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. เป็นการสอนที่พัฒนาความงอกงามทางด้านสติปัญญาส่งเสริมนิสัยในการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ การเลือกวิธีแก้ปัญหา
                2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักที่จะควบคุมการทำงานของตนเองได้
                3. เสริมสร้างนิสัยรักการศึกษาค้นคว้าและความรับผิดชอบตนเอง
                4. เป็นวิธีที่มุ่งเน้นที่ผลการเรียนรู้ด้วยตนเองมิใช่เรียนรู้จากการสอนของครู
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. วิธีนี้อาจจะไม่ได้ผลถ้าผู้เรียนขาดความรับผิดชอบและไม่ตั้งใจจริง
                2. การเรียนรู้ที่เกิดกับนักเรียนอาจใช้เวลาไม่เท่ากันจึงยากแก่การประเมินผล

นารินทร์ เวกสูงเนิน http://learninggift.blogspot.com/2011/06/self-study-method.html ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้

            วิธีสอบแบบศึกษาด้วยตนเองเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองที่นอกเหนือจากในหนังสือเรียน   เป้าหมาย เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยได้รับคำแนะนำของครู เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสแก้ปัญหาด้วยการแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม และหาข้อสรุป
 
สุรพันธ์ ตันศรีวงศ์ (2538, 162) ได้กล่าวไว้ว่า    
            วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง หมายถึงวิธีการที่ให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาโดยตรงจากแหล่งข้อมูล ซึ่งผู้สอนเป็นผู้จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้แก่ผู้เรียน หรืออาจจะเป็นผู้แนะนำการค้นหาความรู้ตามวัตถุประสงค์ของบทเรียนในเรื่องนั้นๆ รูปแบบของการจัดกิจกรรมทำได้หลายแบบ เช่น เป็นแบบรายบุคคล เป็นแบบกลุ่มย่อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ นอกจากนี้สื่อหรือแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ ดังนั้นการให้เนื้อหาแบบศึกษาด้วยตนเอง จึงมีวิธีเรียกชื่อตามวิธีการของสื่อ
          การศึกษารายบุคคล
          บทเรียนโปรแกรม
          ศูนย์การเรียน
          ชุดการสอน 
          คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
          แม้ว่าจะใช้สื่อหรือรูปแบบที่ต่างกันแต่จุดมุ่งหมายคือ การจัดการเรียนรู้ด้วยการให้ผู้เรียน เรียนโดยตรงจากแหล่งข้อมูล อาจจะเป็น ตำรา วีดีโอเทป หรือใบเนื้อหา ที่ผู้สอนเตรียมมาให้ 
          มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามความสามารถของรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนตามความพร้อมในด้านต่างๆ ความแตกต่างของร่างกาย อารมณ์ ความต้องการ ตลอดจนความสนใจของแต่ละบุคคล ผู้สอนสามารถตรวจสอบความสามารถของนักเรียนแต่ละคนได้อย่างชัดเจน และสามารถช่วยเหลือ แนะนำเป็นรายบุคคล
      ปัจจัยที่มีผลต่อการให้เนื้อหาแบบศึกษาด้วยตนเอง
         1. ผู้เรียน 2. ผู้สอน 3. เนื้อหาสาระ/วัตถุประสงค์ 4. สื่อการเรียนการสอน
  
สรุป
         วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเองเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้โดยตรงจากแหล่งข้อมูล ด้วยตนเองหรืออาจเป็นกลุ่มเล็กๆ ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องหรือประเด็นที่ตามวัตถุประสงค์ของครูผู้สอน หรือบางครั้งอาจจะตามความสนใจ ซึ่งผู้สอนเป็นผู้จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้แก่ผู้เรียน เช่นจาก บทเรียนโปรแกรม ศูนย์การเรียน ชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

     เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนตามความสามารถ ตามความพร้อมในด้านต่างๆ นักเรียนได้มีโอกาสแก้ปัญหาด้วยการแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกรณีกลุ่ม หรือผู้สอนสามารถตรวจสอบความสามารถของนักเรียนแต่ละคนได้อย่างชัดเจน และสามารถช่วยเหลือ แนะนำเป็นรายบุคคลในกรณีรายบุคคล เพื่อนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. จัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆหรืออาจเป็นผู้เรียนคนเดียวศึกษาค้นคว้าตามลำพัง
                2. ครูกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายและให้คำแนะนำให้มีการร่วมมือกันในการวางแผนที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่างๆดูแลและให้ความช่วยเหลือในการศึกษาของนักเรียนแต่ละคน จัดหาและเสนอแนะแหล่งความรู้ได้แก่ วัสดุ หนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่นักเรียนต้องใช้รวมทั้งอาจแนะนำให้หาความรู้ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลภายนอกโรงเรียน
                3. หลังการแสดงความคิดเห็นและปฏิบัติกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้วนักเรียนเขียนรายงานผลการวินิจฉัยปัญหา

ข้อดีของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. เป็นการสอนที่พัฒนาความงอกงามทางด้านสติปัญญาส่งเสริมนิสัยในการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ การเลือกวิธีแก้ปัญหา
                2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักที่จะควบคุมการทำงานของตนเองได้
                3. เสริมสร้างนิสัยรักการศึกษาค้นคว้าและความรับผิดชอบตนเอง
                4. เป็นวิธีที่มุ่งเน้นที่ผลการเรียนรู้ด้วยตนเองมิใช่เรียนรู้จากการสอนของครู
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. วิธีนี้อาจจะไม่ได้ผลถ้าผู้เรียนขาดความรับผิดชอบและไม่ตั้งใจจริง
                2. การเรียนรู้ที่เกิดกับนักเรียนอาจใช้เวลาไม่เท่ากันจึงยากแก่การประเมินผล

ที่มา
http://innovation.kpru.ac.th/web17/551121732/innovation/index.php/self-study-method
  วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method). เข้าถึงเมื่อ 29 มิ.ย.58.
นารินทร์ เวกสูงเนิน. (ออนไลน์). http://learninggift.blogspot.com/2011/06/self-study-method.html
 วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method). เข้าถึงเมื่อ 29 มิ.ย.58.
สุรพันธ์ ตันศรีวงศ์. (2538). วิธีการสอน. กรุงเทพฯ : สยามสปอร์ต ซินดิเคท.

 

 

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558



ความสำคัญของการเรียนรู้

เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน (http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm
ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
            การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้ สิ่งมีชีวิตใดก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
        เช่น ไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อนับล้านปีที่แล้วเป็นต้น    หากเราจะเปรียบเทียบองค์การหนึ่ง ๆ ที่กำลังดำเนินกิจการอยู่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิต อยู่ท่ามกลางกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ (Globalization) องค์การใดที่มีการเรียนรู้มีการปรับตัวที่ดีก็สามารถดำรงอยู่ได้

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา (2542:77) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
               การเรียนรู้จะช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต หรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นคนเราจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
Richard   R.  Bootsin (www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
                - การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
                - มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย
                - ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน   No  one  old  to  learn
                - การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

สรุป
             ความสำคัญของการเรียนรู้คือ การเรียนรู้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งยังช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้อย่างเหมาะสม มนุษย์จึงต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ที่มา
เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน.[online].                                                                         (http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm).                               องค์การแห่งการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2558.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา.(2542).จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: วิสิธ์พัฒนา. 

www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt. การเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2558.

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558




ความหมายของการเรียนรู้


ประดินันท์ อุปรมัย (2540:121) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
        การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99  
ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
         การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve)
        การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วนบุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมายและอาจมีความจูงใจเป็นตัวช่วย การศึกษาว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) จิตวิทยาการศึกษา (educational psychology) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) และศึกษาศาสตร์ (pedagogy) การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ (habituation) หรือการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning) ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเช่นการเล่น ซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ที่มีเชาวน์ปัญญา  การเรียนรู้อาจก่อให้เกิดความตระหนักอย่างมีสำนึกหรือไม่มีสำนึกก็ได้

http://2educationinnovation.wikispaces.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C

                     
ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
           การเรียนรู้ หมายถึง พัฒนาการรอบด้านของชีวิต มีองค์ประกอบ ปัจจัย และกระบวนการที่หลากหลาย มีพลังขับเคลื่อนเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างผสมกลมกลืนได้สัดส่วน สมดุลกัน เกิดความสมบูรณ์ของชีวิตและสังคมการเรียนรู้ มีความหมายครอบคลุมถึงขั้นตอนต่อไปนี้คือ
1. การรับรู้ (Reception) หมายถึง การที่ผู้คน “รับ” เอาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่างๆ จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งรวมทั้งแหล่งความรู้จากครูผู้สอนด้วย
2. การเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความหมายและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้
3. การปรับเปลี่ยน (Transformation) เป็นระดับของการเรียนรู้ที่แท้จริง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านวิธีคิด (Conceptualization) การเปลี่ยนแปลงระบบคุณค่า (Values) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) ในสิ่งที่รับรู้และมีความเข้าใจแล้วเป็นอย่างดี



สรุป

         การเรียนรู้ คือ การได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร และองค์ความรู้ต่างๆ จากแหล่งความรู้หรือสภาพแวดล้อม รวมไปถึงประสบการณ์ทั้งทางตรง และทางอ้อม อาจเป็นสิ่งที่แปลกใหม่หรือปรับปรุงจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว เกิดเป็นความเข้าใจ เห็นถึงความหมายและเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันของสิ่งที่ได้รับรู้ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาการในด้านต่างๆ ของชีวิต


ที่มา

ประดินันท์ อุปรมัย. (2540). ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้). (พิมพ์ครั้งที่ 15).                       นนทบุรี. 

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99  การเรียน. เข้าถึงเมื่อ 15 มิ.ย. 58.



http://2educationinnovation.wikispaces.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8Cการเรียนรู้ของมนุษย์. เข้าถึงเมื่อ 15 มิ.ย. 58.