วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558


วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)
http://innovation.kpru.ac.th/web17/551121732/innovation/index.php/self-study-method ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
          วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเองเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิชาด้วยตนเอง ได้แก่การศึกษาจากหนังสือและการศึกษานอกสถานที่ การสอนวิธีนี้บางครั้งเรียกว่าวิธี Problem Solving หรือ Discovery Method
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. จัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆหรืออาจเป็นผู้เรียนคนเดียวศึกษาค้นคว้าตามลำพัง
                2. ครูกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายและให้คำแนะนำให้มีการร่วมมือกันในการวางแผนที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่างๆดูแลและให้ความช่วยเหลือในการศึกษาของนักเรียนแต่ละคน จัดหาและเสนอแนะแหล่งความรู้ได้แก่ วัสดุ หนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่นักเรียนต้องใช้รวมทั้งอาจแนะนำให้หาความรู้ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลภายนอกโรงเรียน
                3. หลังการแสดงความคิดเห็นและปฏิบัติกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้วนักเรียนเขียนรายงานผลการวินิจฉัยปัญหา
ข้อดีของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. เป็นการสอนที่พัฒนาความงอกงามทางด้านสติปัญญาส่งเสริมนิสัยในการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ การเลือกวิธีแก้ปัญหา
                2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักที่จะควบคุมการทำงานของตนเองได้
                3. เสริมสร้างนิสัยรักการศึกษาค้นคว้าและความรับผิดชอบตนเอง
                4. เป็นวิธีที่มุ่งเน้นที่ผลการเรียนรู้ด้วยตนเองมิใช่เรียนรู้จากการสอนของครู
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. วิธีนี้อาจจะไม่ได้ผลถ้าผู้เรียนขาดความรับผิดชอบและไม่ตั้งใจจริง
                2. การเรียนรู้ที่เกิดกับนักเรียนอาจใช้เวลาไม่เท่ากันจึงยากแก่การประเมินผล

นารินทร์ เวกสูงเนิน http://learninggift.blogspot.com/2011/06/self-study-method.html ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้

            วิธีสอบแบบศึกษาด้วยตนเองเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองที่นอกเหนือจากในหนังสือเรียน   เป้าหมาย เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยได้รับคำแนะนำของครู เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสแก้ปัญหาด้วยการแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม และหาข้อสรุป
 
สุรพันธ์ ตันศรีวงศ์ (2538, 162) ได้กล่าวไว้ว่า    
            วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง หมายถึงวิธีการที่ให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาโดยตรงจากแหล่งข้อมูล ซึ่งผู้สอนเป็นผู้จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้แก่ผู้เรียน หรืออาจจะเป็นผู้แนะนำการค้นหาความรู้ตามวัตถุประสงค์ของบทเรียนในเรื่องนั้นๆ รูปแบบของการจัดกิจกรรมทำได้หลายแบบ เช่น เป็นแบบรายบุคคล เป็นแบบกลุ่มย่อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ นอกจากนี้สื่อหรือแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ ดังนั้นการให้เนื้อหาแบบศึกษาด้วยตนเอง จึงมีวิธีเรียกชื่อตามวิธีการของสื่อ
          การศึกษารายบุคคล
          บทเรียนโปรแกรม
          ศูนย์การเรียน
          ชุดการสอน 
          คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
          แม้ว่าจะใช้สื่อหรือรูปแบบที่ต่างกันแต่จุดมุ่งหมายคือ การจัดการเรียนรู้ด้วยการให้ผู้เรียน เรียนโดยตรงจากแหล่งข้อมูล อาจจะเป็น ตำรา วีดีโอเทป หรือใบเนื้อหา ที่ผู้สอนเตรียมมาให้ 
          มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามความสามารถของรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนตามความพร้อมในด้านต่างๆ ความแตกต่างของร่างกาย อารมณ์ ความต้องการ ตลอดจนความสนใจของแต่ละบุคคล ผู้สอนสามารถตรวจสอบความสามารถของนักเรียนแต่ละคนได้อย่างชัดเจน และสามารถช่วยเหลือ แนะนำเป็นรายบุคคล
      ปัจจัยที่มีผลต่อการให้เนื้อหาแบบศึกษาด้วยตนเอง
         1. ผู้เรียน 2. ผู้สอน 3. เนื้อหาสาระ/วัตถุประสงค์ 4. สื่อการเรียนการสอน
  
สรุป
         วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเองเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้โดยตรงจากแหล่งข้อมูล ด้วยตนเองหรืออาจเป็นกลุ่มเล็กๆ ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องหรือประเด็นที่ตามวัตถุประสงค์ของครูผู้สอน หรือบางครั้งอาจจะตามความสนใจ ซึ่งผู้สอนเป็นผู้จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้แก่ผู้เรียน เช่นจาก บทเรียนโปรแกรม ศูนย์การเรียน ชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

     เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนตามความสามารถ ตามความพร้อมในด้านต่างๆ นักเรียนได้มีโอกาสแก้ปัญหาด้วยการแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกรณีกลุ่ม หรือผู้สอนสามารถตรวจสอบความสามารถของนักเรียนแต่ละคนได้อย่างชัดเจน และสามารถช่วยเหลือ แนะนำเป็นรายบุคคลในกรณีรายบุคคล เพื่อนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. จัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆหรืออาจเป็นผู้เรียนคนเดียวศึกษาค้นคว้าตามลำพัง
                2. ครูกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายและให้คำแนะนำให้มีการร่วมมือกันในการวางแผนที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่างๆดูแลและให้ความช่วยเหลือในการศึกษาของนักเรียนแต่ละคน จัดหาและเสนอแนะแหล่งความรู้ได้แก่ วัสดุ หนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่นักเรียนต้องใช้รวมทั้งอาจแนะนำให้หาความรู้ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลภายนอกโรงเรียน
                3. หลังการแสดงความคิดเห็นและปฏิบัติกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้วนักเรียนเขียนรายงานผลการวินิจฉัยปัญหา

ข้อดีของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. เป็นการสอนที่พัฒนาความงอกงามทางด้านสติปัญญาส่งเสริมนิสัยในการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ การเลือกวิธีแก้ปัญหา
                2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักที่จะควบคุมการทำงานของตนเองได้
                3. เสริมสร้างนิสัยรักการศึกษาค้นคว้าและความรับผิดชอบตนเอง
                4. เป็นวิธีที่มุ่งเน้นที่ผลการเรียนรู้ด้วยตนเองมิใช่เรียนรู้จากการสอนของครู
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. วิธีนี้อาจจะไม่ได้ผลถ้าผู้เรียนขาดความรับผิดชอบและไม่ตั้งใจจริง
                2. การเรียนรู้ที่เกิดกับนักเรียนอาจใช้เวลาไม่เท่ากันจึงยากแก่การประเมินผล

ที่มา
http://innovation.kpru.ac.th/web17/551121732/innovation/index.php/self-study-method
  วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method). เข้าถึงเมื่อ 29 มิ.ย.58.
นารินทร์ เวกสูงเนิน. (ออนไลน์). http://learninggift.blogspot.com/2011/06/self-study-method.html
 วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method). เข้าถึงเมื่อ 29 มิ.ย.58.
สุรพันธ์ ตันศรีวงศ์. (2538). วิธีการสอน. กรุงเทพฯ : สยามสปอร์ต ซินดิเคท.

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น