วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ศศิธร  เวียงวะลัย ( 2556, 3) ได้กล่าวไว้ว่า
      การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึงการวัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ต้องเน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเอง หรือรวมทั้งมีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและประยุกต์ใช้ มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน และสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ นอกจากนี้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพโดยสะท้อนจากที่ผู้เรียนสามารถเลือกรายวิชาหรือเลือกทำโครงงานหรือชิ้นงานในหัวข้อที่สนใจในขอบเขตของวิขานั้นๆ

กระทรวงศึกษาธิการ ( 2543, 20) ได้กล่าวไว้ว่า
      ารจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ  ผู้สอนจึงต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวก ในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน กล่าวคือเป็นผู้กระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุน จัดสิ่งเร้าและจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพ เต็มความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล การจัดกิจกรรมจึงต้องเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ แยกแยะประเด็นเรื่องที่สำคัญ คิดวิพากษ์ วิจารณ์ คิดสร้างสรรค์ และค้นคว้า

ประเวศ วะสี (2549, 42) ได้กล่าวไว้ว่า
       ารจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเอาคนและสถานการณ์จริงเป็นตัวตั้ง เรียนจากประสบการณ์และกิจกรรม จากการฝึกหัด จากการตั้งคำถาม และจากการแสวงหาคำตอบซึ่งจะทำให้สนุก ฝึกปัญญาให้กล้าแข็ง ทำงานเป็น ฝึกคุณลักษณะอื่นๆ เช่น ความอดทน ความรับผิดชอบ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  การรวมกลุ่ม การจัดการและการรู้จักตนเอง
        
สรุป
      ารจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นตัวผู้เรียนเป็นหลัก  เรียนตามความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยครูมีหน้าที่จัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวก กระตุ้น และจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา ให้เต็มตามศักยภาพ เต็มความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ แยกแยะ  คิดวิพากษ์ วิจารณ์ คิดสร้างสรรค์ และค้นคว้า นำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต


ที่มา
ศศิธร  เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). คู่มือพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานการศึกษา การสอนที่เน้นผู้                 เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ประเวศ วะสี. (2549). ทฤษฎีกระบวนการทางปัญญา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558


องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้

http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html   ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
1. ผู้สอน เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น
ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว ควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
2. ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
3. เนื้อหาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดี และจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย


เอกศักดิ์  บุตรลับ (2537, 210) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้                                          องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
1. ปัจจัยนำเข้าหรือตัวป้อน ได้แก่ ครู นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนอื่นๆ หลักสูตร และสิ่งแวดล้อมทางการเรียน
2. กระบวนการดำเนินงาน เป็นการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งจะประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ หลายชนิด เช่น การเตรียมความพร้อม การดำเนินการสอน การสร้างเสริมทักษะและกิจกรรมสนับสนุน
3. การควบคุม คือการควบคุมกระบวนการเรียนการสอนนี้ หมายถึงวิธีการที่จะทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผลผลิต ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
5. ข้อมูลย้อนกลับ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลหลังจากการสอนได้ผ่านไปแล้ว


อาภรณ์  ใจเที่ยง (2540, 6-7) กล่าวว่า
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้สามารถแบ่งได้ 2 ด้าน คือ
1. ด้านองค์ประกอบรวม หมายถึง องค์ประกอบด้านโครงสร้างที่มาประกอบกันเป็นการสอน
    1.1 ครู หรือผู้สอน หรือวิทยากร
    1.2 นักเรียน หรือผู้เรียน
    1.3 หลักสูตร หรือสิ่งที่จะสอน
2. ด้านองค์ประกอบย่อย หมายถึง องค์ประกอบด้านรายละเอียดของการสอน ซึ่งจะต้องประกอบด้วย
    2.1 การตั้งจุดประสงค์การสอน
    2.2 การกำหนดเนื้อหา
    2.3 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
    2.4 การใช้สื่อการสอน
    2.5 การวัดผลและประเมินผล

สรุป 
1. ปัจจัยนำเข้าหรือตัวป้อน ได้แก่ ครู นักเรียน หลักสูตร และสิ่งแวดล้อมทางการเรียน
2. กระบวนการดำเนินงาน เป็นการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งจะประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ หลายชนิด เช่น การเตรียมความพร้อม การดำเนินการสอน การสร้างเสริมทักษะและกิจกรรมสนับสนุน
3. การควบคุม คือการควบคุมกระบวนการเรียนการสอนนี้ หมายถึงวิธีการที่จะทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผลผลิต ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
5. ข้อมูลย้อนกลับ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลหลังจากการสอนได้ผ่านไปแล้ว
      


ที่มา
http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html 
           องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 9 ก.ค. 58.
เอกศักดิ์  บุตรลับ. (2537). ครูและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). ปทุมธานี : วิทยาลัยครูเพชรบุรี.
อาภรณ์  ใจเที่ยง. (2540). หลักการสอน. กรุงเทพฯ : โอเดียร์สโตร์.