วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558


วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)
http://innovation.kpru.ac.th/web17/551121732/innovation/index.php/self-study-method ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
          วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเองเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิชาด้วยตนเอง ได้แก่การศึกษาจากหนังสือและการศึกษานอกสถานที่ การสอนวิธีนี้บางครั้งเรียกว่าวิธี Problem Solving หรือ Discovery Method
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. จัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆหรืออาจเป็นผู้เรียนคนเดียวศึกษาค้นคว้าตามลำพัง
                2. ครูกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายและให้คำแนะนำให้มีการร่วมมือกันในการวางแผนที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่างๆดูแลและให้ความช่วยเหลือในการศึกษาของนักเรียนแต่ละคน จัดหาและเสนอแนะแหล่งความรู้ได้แก่ วัสดุ หนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่นักเรียนต้องใช้รวมทั้งอาจแนะนำให้หาความรู้ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลภายนอกโรงเรียน
                3. หลังการแสดงความคิดเห็นและปฏิบัติกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้วนักเรียนเขียนรายงานผลการวินิจฉัยปัญหา
ข้อดีของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. เป็นการสอนที่พัฒนาความงอกงามทางด้านสติปัญญาส่งเสริมนิสัยในการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ การเลือกวิธีแก้ปัญหา
                2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักที่จะควบคุมการทำงานของตนเองได้
                3. เสริมสร้างนิสัยรักการศึกษาค้นคว้าและความรับผิดชอบตนเอง
                4. เป็นวิธีที่มุ่งเน้นที่ผลการเรียนรู้ด้วยตนเองมิใช่เรียนรู้จากการสอนของครู
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. วิธีนี้อาจจะไม่ได้ผลถ้าผู้เรียนขาดความรับผิดชอบและไม่ตั้งใจจริง
                2. การเรียนรู้ที่เกิดกับนักเรียนอาจใช้เวลาไม่เท่ากันจึงยากแก่การประเมินผล

นารินทร์ เวกสูงเนิน http://learninggift.blogspot.com/2011/06/self-study-method.html ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้

            วิธีสอบแบบศึกษาด้วยตนเองเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองที่นอกเหนือจากในหนังสือเรียน   เป้าหมาย เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยได้รับคำแนะนำของครู เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสแก้ปัญหาด้วยการแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม และหาข้อสรุป
 
สุรพันธ์ ตันศรีวงศ์ (2538, 162) ได้กล่าวไว้ว่า    
            วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง หมายถึงวิธีการที่ให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาโดยตรงจากแหล่งข้อมูล ซึ่งผู้สอนเป็นผู้จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้แก่ผู้เรียน หรืออาจจะเป็นผู้แนะนำการค้นหาความรู้ตามวัตถุประสงค์ของบทเรียนในเรื่องนั้นๆ รูปแบบของการจัดกิจกรรมทำได้หลายแบบ เช่น เป็นแบบรายบุคคล เป็นแบบกลุ่มย่อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ นอกจากนี้สื่อหรือแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ ดังนั้นการให้เนื้อหาแบบศึกษาด้วยตนเอง จึงมีวิธีเรียกชื่อตามวิธีการของสื่อ
          การศึกษารายบุคคล
          บทเรียนโปรแกรม
          ศูนย์การเรียน
          ชุดการสอน 
          คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
          แม้ว่าจะใช้สื่อหรือรูปแบบที่ต่างกันแต่จุดมุ่งหมายคือ การจัดการเรียนรู้ด้วยการให้ผู้เรียน เรียนโดยตรงจากแหล่งข้อมูล อาจจะเป็น ตำรา วีดีโอเทป หรือใบเนื้อหา ที่ผู้สอนเตรียมมาให้ 
          มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามความสามารถของรายบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนตามความพร้อมในด้านต่างๆ ความแตกต่างของร่างกาย อารมณ์ ความต้องการ ตลอดจนความสนใจของแต่ละบุคคล ผู้สอนสามารถตรวจสอบความสามารถของนักเรียนแต่ละคนได้อย่างชัดเจน และสามารถช่วยเหลือ แนะนำเป็นรายบุคคล
      ปัจจัยที่มีผลต่อการให้เนื้อหาแบบศึกษาด้วยตนเอง
         1. ผู้เรียน 2. ผู้สอน 3. เนื้อหาสาระ/วัตถุประสงค์ 4. สื่อการเรียนการสอน
  
สรุป
         วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเองเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้โดยตรงจากแหล่งข้อมูล ด้วยตนเองหรืออาจเป็นกลุ่มเล็กๆ ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องหรือประเด็นที่ตามวัตถุประสงค์ของครูผู้สอน หรือบางครั้งอาจจะตามความสนใจ ซึ่งผู้สอนเป็นผู้จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้แก่ผู้เรียน เช่นจาก บทเรียนโปรแกรม ศูนย์การเรียน ชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

     เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนตามความสามารถ ตามความพร้อมในด้านต่างๆ นักเรียนได้มีโอกาสแก้ปัญหาด้วยการแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกรณีกลุ่ม หรือผู้สอนสามารถตรวจสอบความสามารถของนักเรียนแต่ละคนได้อย่างชัดเจน และสามารถช่วยเหลือ แนะนำเป็นรายบุคคลในกรณีรายบุคคล เพื่อนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. จัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆหรืออาจเป็นผู้เรียนคนเดียวศึกษาค้นคว้าตามลำพัง
                2. ครูกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายและให้คำแนะนำให้มีการร่วมมือกันในการวางแผนที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่างๆดูแลและให้ความช่วยเหลือในการศึกษาของนักเรียนแต่ละคน จัดหาและเสนอแนะแหล่งความรู้ได้แก่ วัสดุ หนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่นักเรียนต้องใช้รวมทั้งอาจแนะนำให้หาความรู้ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลภายนอกโรงเรียน
                3. หลังการแสดงความคิดเห็นและปฏิบัติกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้วนักเรียนเขียนรายงานผลการวินิจฉัยปัญหา

ข้อดีของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. เป็นการสอนที่พัฒนาความงอกงามทางด้านสติปัญญาส่งเสริมนิสัยในการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ การเลือกวิธีแก้ปัญหา
                2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักที่จะควบคุมการทำงานของตนเองได้
                3. เสริมสร้างนิสัยรักการศึกษาค้นคว้าและความรับผิดชอบตนเอง
                4. เป็นวิธีที่มุ่งเน้นที่ผลการเรียนรู้ด้วยตนเองมิใช่เรียนรู้จากการสอนของครู
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
                1. วิธีนี้อาจจะไม่ได้ผลถ้าผู้เรียนขาดความรับผิดชอบและไม่ตั้งใจจริง
                2. การเรียนรู้ที่เกิดกับนักเรียนอาจใช้เวลาไม่เท่ากันจึงยากแก่การประเมินผล

ที่มา
http://innovation.kpru.ac.th/web17/551121732/innovation/index.php/self-study-method
  วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method). เข้าถึงเมื่อ 29 มิ.ย.58.
นารินทร์ เวกสูงเนิน. (ออนไลน์). http://learninggift.blogspot.com/2011/06/self-study-method.html
 วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method). เข้าถึงเมื่อ 29 มิ.ย.58.
สุรพันธ์ ตันศรีวงศ์. (2538). วิธีการสอน. กรุงเทพฯ : สยามสปอร์ต ซินดิเคท.

 

 

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558



ความสำคัญของการเรียนรู้

เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน (http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm
ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
            การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้ สิ่งมีชีวิตใดก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
        เช่น ไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อนับล้านปีที่แล้วเป็นต้น    หากเราจะเปรียบเทียบองค์การหนึ่ง ๆ ที่กำลังดำเนินกิจการอยู่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิต อยู่ท่ามกลางกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ (Globalization) องค์การใดที่มีการเรียนรู้มีการปรับตัวที่ดีก็สามารถดำรงอยู่ได้

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา (2542:77) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
               การเรียนรู้จะช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต หรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นคนเราจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
Richard   R.  Bootsin (www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
                - การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
                - มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย
                - ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน   No  one  old  to  learn
                - การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

สรุป
             ความสำคัญของการเรียนรู้คือ การเรียนรู้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งยังช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้อย่างเหมาะสม มนุษย์จึงต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ที่มา
เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน.[online].                                                                         (http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm).                               องค์การแห่งการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2558.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา.(2542).จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: วิสิธ์พัฒนา. 

www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt. การเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2558.

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558




ความหมายของการเรียนรู้


ประดินันท์ อุปรมัย (2540:121) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
        การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99  
ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
         การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve)
        การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วนบุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมายและอาจมีความจูงใจเป็นตัวช่วย การศึกษาว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) จิตวิทยาการศึกษา (educational psychology) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) และศึกษาศาสตร์ (pedagogy) การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ (habituation) หรือการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning) ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเช่นการเล่น ซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ที่มีเชาวน์ปัญญา  การเรียนรู้อาจก่อให้เกิดความตระหนักอย่างมีสำนึกหรือไม่มีสำนึกก็ได้

http://2educationinnovation.wikispaces.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C

                     
ได้รวบรวมและกล่าวไว้ดังนี้
           การเรียนรู้ หมายถึง พัฒนาการรอบด้านของชีวิต มีองค์ประกอบ ปัจจัย และกระบวนการที่หลากหลาย มีพลังขับเคลื่อนเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างผสมกลมกลืนได้สัดส่วน สมดุลกัน เกิดความสมบูรณ์ของชีวิตและสังคมการเรียนรู้ มีความหมายครอบคลุมถึงขั้นตอนต่อไปนี้คือ
1. การรับรู้ (Reception) หมายถึง การที่ผู้คน “รับ” เอาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่างๆ จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งรวมทั้งแหล่งความรู้จากครูผู้สอนด้วย
2. การเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความหมายและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้
3. การปรับเปลี่ยน (Transformation) เป็นระดับของการเรียนรู้ที่แท้จริง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านวิธีคิด (Conceptualization) การเปลี่ยนแปลงระบบคุณค่า (Values) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) ในสิ่งที่รับรู้และมีความเข้าใจแล้วเป็นอย่างดี



สรุป

         การเรียนรู้ คือ การได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร และองค์ความรู้ต่างๆ จากแหล่งความรู้หรือสภาพแวดล้อม รวมไปถึงประสบการณ์ทั้งทางตรง และทางอ้อม อาจเป็นสิ่งที่แปลกใหม่หรือปรับปรุงจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว เกิดเป็นความเข้าใจ เห็นถึงความหมายและเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันของสิ่งที่ได้รับรู้ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาการในด้านต่างๆ ของชีวิต


ที่มา

ประดินันท์ อุปรมัย. (2540). ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้). (พิมพ์ครั้งที่ 15).                       นนทบุรี. 

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99  การเรียน. เข้าถึงเมื่อ 15 มิ.ย. 58.



http://2educationinnovation.wikispaces.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8Cการเรียนรู้ของมนุษย์. เข้าถึงเมื่อ 15 มิ.ย. 58.